วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่  14  วันที่  27 พฤศจิการยน 2562



วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานสื่อวิทยาศาสตร์ และ ทำ Map ส่ง จากใบงานที่แจกให้ลงในบล็อกแล้วเก็บตัว Map ฉบับจริงไว้ แล้วอาจารย์จะนัดตรวจอีกรอบ

รูปภาพการส่งสื่อ รายบุคคล



และในส่วนของ  Map  ดังนี้ 


คำศัพท์ 
technique เทคนิค
elementองค์ประกอบ
activitiesกิจกรรม
evaluationการประเมิน
scienceวิทยาศาสตร์

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์มีการแจ้งในส่วนของงานล่วงหน้าและแจ้งรายละเอียดได้เข้าใจรวมถึงมอบหมายให้ตัวแทนนักศึกษาพบอาจารย์เพื่อชี้แจ้งรายละเอียด

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนให้ความร่วมมือในการรับฟังจากผู้อธิบายเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง
ได้อธิบายงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดีและตอบข้อสงสัยของเพื่อนได้

บรรยากาศในห้องเรียน
ทุกคนตั้งใจจัดเตรียมสื่อของเล่นแยกเซกช่วยกัน 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน  ครั้งที่ 13 วันที่ 20 เดือน พฤศจิกายน 2562



วันนี้เป็นวันที่นำเสนอของเล่นทั้งกลุ่มใหญ่และรายบุคคล 

กลุ่ม เรื่องแสง 
โรงละคร 

ขั้นตอนการทำ 

อุปกรณ์ 

ลัง 
กระดาษไข
กาว
กระดาษสี
กระดาษแข็งสีดำ
คัตเตอร์
กรรไกร
ผ้า
ด้าย
เข็ม


รูปภาพประกอบ



และกลุ่มอื่นๆ 






ต่อไปเป็นการนำเสนอของเล่นรายบุคคล 

ชื่อ  กล่องละลานตา

อุปกรณ์

กรรไกร
กางสองหน้า
แกนทิชชู
กระดาษสี
หลอด
แผ่นซีดี
เทป

ขั้นตอนการทำ 



ในส่วนของงานที่ดิฉันทำ เปลี่ยนเอาแผ่นซีดีมาใช้แทน เนื่องจากหางานและสะดวกต่อการใช้งาน









ประเมิน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนตั้งใจนำเสนอของเล่นของตัวเอง

ประเมินตนเอง
นำเสนอของเล่นของตนเองอย่างเต็มความสามารถ

บรรยากาศในห้องเรียน 
อากาศหนาวมาก อุปกรณ์มีความพร้อม  พื้นที่เพียงพอ





วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่  12  เดือน พฤศจิกายน 2562 



วันนี้อาจารย์นัดมาคุยตามตารางเรียน และรายละเอียดในเรื่องของงานที่ต้องส่งก่อนสอบไฟนอล มีอะไรบ้าง เช่น ของเล่นวิทยาศาสตร์ทั้งกลุ่มและรายบุคคล  รวมถึงเล่มโครงการ  ที่ลงพื้นที่ ที่ ศูนย์พัฒนาเสือใหญ่  

รูปภาพประกอบ 



ประเมิน 

ประเมินอาจารย์ 
      อาจารย์อธิบายได้ชัดเจน 

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 
      ไม่มีใครมาสายและตั้งใจฟังพร้อมทั้งขอคำปรึกษาจากอาจารย์ในเรื่องของงานต่างๆ 

ประเมินตนเอง 
      ขอคำปรึกษากับอาจารย์ในเรื่องของของเล่น และมาทันเวลา 

บรรยากาศใต้ตึกใหม่ 
       ร้อนมาก พัดลมค่อนข้างไม่เย็น 



วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11  วันที่ 6  พฤศจิกายน  2562 



วันนี้เป็นวันที่ลงพื้นที่ ในศูนย์พัฒนาเสือใหญ่  ของ 3  กลุ่มที่เหลือ ซึ่งการทดลอง คือ  ภูเขาไฟลาวา  กรวด และ  กล่องมหัศจรรย์ และกลุ่มที่จัดประสบการณ์ให้กับเด็กในสัปดาห์ที่แล้ว ก็คอยเก็บเด็กให้เพื่อนๆ ประสานงานต่างๆ

รูปภาพของกลุ่มที่จัดประสบการณ์ 




และหลังจากที่จัดประสบการณ์ให้กับเด็กก็ได้เล่านิทานให้เด็กฟังโดยการแสดง
บทการแสดง  วัวลากเกวียน   จากนิทาน เรื่อง  วัวขี้เกียจ




หลังจากนี้เป็นการขอบคุณสถานที่ อาจารย์  และรับฟังคำติชมต่างๆ

การประเมิน 

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์คอยแนะนำและติชมเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง 
 กล้าที่จะออกไปแสดงนิทาน และ การเก็บเด็ก

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 
เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

บรรยากาศในสถานที่ 
อากาศร้อน

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่  10  วันที่ 30  ตุลาคม 2562



วันนี้เป็นวันที่ลงพื้นที่ใน ศุนย์พัฒนาเสือใหญ่  กับการทดลองวิทยาศาสตร์ จำนวน 3  กลุ่ม 
รายละเอียดดังนี้ 


ตัวอย่างการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย



 












สิ่งที่ควรปรับปรุง 
     การทำซาร์ตการทดลอง ควร มีรูปภาพหรือควรเอาไว้แผ่นเดียวกัน และเมื่อทำการทดลองเสร็จแล้วควรถามเด็กๆว่า สนุกไหม เป็นอย่างไรบ้าง  นอกจากนั้น ควรถามความคิดเห็นจากคุณครูในศูนย์พัฒนาเสือใหญ่ด้วยว่า หลงจากทำการทดลองเสร็จแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง และ มีความคิดเห็นตรงส่วนไหน หรือผิดพลาดตรงไหนบ้าง เพื่อเป็นการสะท้อนตัวนักศึกษาเองและนำไปปรับใช้ในกิจกรรมต่อไป 

การประเมิน 

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์คอยช่วยเหลือและชี้แนะในส่วนที่ทำพลาด 

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 
เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมตามหน้าที่ที่ตนเองได้รับ 

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจทำกิจกรรมตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี 

บรรยากาศในสถานที่ 
สถานที่มีความสะอาด แต่ตั้งอยุ่ติดกับถนนไปหน่อย 







วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9  วันที่  16  ตุลาคม 2652



วันนี้เป็นวันที่เรียนตามปกติและยกชั่วโมงเรียนของสัปดาห์ที่แล้วมาเพิ่มเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ผู้สอนติดธุระสำคัญ

เนื้อหาที่เรียน 
     1  สาธิตการทดลองของแต่ละกลุ่ม เหมือนสัปดาห์ที่แล้ว
     2  ทำประดิษฐ์ทั้งหมด 3 ชิ้น
ชิ้นที่ 1 
ใช้กระดาษขนาด A4  พับครึ่งลายตั้ง แล้วตัด จะเป็นทั้งหมด 2 แผ่น นำกระดาษแผ่นหนึ่งมาพับโดยเหลือมุมไว้ขนาด 1 นิ้ว  แล้วให้วาดรูป1รูป ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ให้มีความแตกต่างกัน เช่น ท่าทาง เครื่องแต่งกาย สัญลักษณ์  เป็นต้น  ตกแต่งให้สวยงาม หลังจากนั้น ให้ใช้มือข้างซ้ายจับกระดาษและใช้มือข้างขวาจับมุมด้านล่างของกระดาษ เปิด ปิด อย่างรวดเร็ว

รูปภาพประกอบ 






ชิ้นที่ 2 
ใช้กระดาษอีกด้านที่เหลือ พับครึ่งแล้ววาดรูปรูปเดียวให้ได้ทั้งด้านหน้าด้านหลัง ใช้กระดาษมาม้วนเป็นไม้ ใช้กาวติดลงไปในกระดาษ เมื่อหมุนจะประกอบเป็นรูปภาพเดียวกัน

รูปภาพประกอบ




ชิ้นงาน ที่ 3
ชิ้นนี้ให้คิดขึ้นเองแล้วบอกว่า เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

รูปภาพประกอบ

คำอธิบายเพิ่มเติม
องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศได้คือ
1. กระแสลมที่เคลื่อนที่ไปในแนวขนานกับผิวโลกทางใดทางหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ
2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกได้แก่พื้นที่ของตัวว่าว
3.อุปกรณ์บังคับ ได้แก่ เชือกหรือด้ายรั้งว่าว และสายซุง ซึ่งทำหน้าที่ปรับมุมปะทะของอากาศกับพื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน
ดังนั้น การเล่นว่าวต้องอาศัยลม ลมเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ บางวันลมแรง บางวันลมอ่อน เราจะควบคุมได้ก็เพียงตัวว่าวของเราเอง เมื่อว่าวปะทะลม จะมีแรงมาเกี่ยวข้องด้วย คือ แรงจากน้ำหนักของว่าว แรงฉุดไปตามทิศทางของลม และแรงยกในทิศทางตรงข้ามของน้ำหนัก ผลรวมของแรงทั้งสาม เกิดเป็นแรงลัพท์ที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปได้ และทิศทางของแรงลัพท์นี้ จะอยู่ในแนวเดียวกับแนวเชือกว่าวที่ต่อออกจากคอซุงพอดีในขณะที่ว่าวเคลื่อนที่สวนทางลม และตัวว่าวทำมุมเงย ทำให้เกิดมุมปะทะกับพื้นที่ตัวว่าว ทำให้อากาศด้านบน (หลังว่าว) ไหลเร็วกว่าด้านล่างว่าว ความกดดันอากาศจึงลดลง ทำให้เกิดแรงยกขึ้น ในขณะเดียวกัน ลมด้านล่าง (ใต้ว่าว) เคลื่อนที่ช้ากว่า ทำให้เกิดความกดดันสูง จึงพยายามปรับตัวให้มีความดันเท่ากับด้านบน จึงดันว่าวให้ลอยขึ้นด้านบน
ว่าวจะขึ้นได้จะต้องมีแรงถ่วง (น้ำหนักของว่าว) น้อยกว่าแรงยก และแรงขับ (ลม) ต้องมีความเร็วมากพอที่จะชนะแรงต้าน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับกระแสลม
แรงที่กระทำต่อว่าว
แรงที่กระทำต่อว่าวที่สำคัญมี3แรง คือ แรงของน้ำหนักWแรงลมPและแรงตึงของเชือกT
น้ำหนักWของว่าวมีทิศทางลงล่าง แรงลมPเป็นแนวตั้งฉากกับว่าว(หากไม่คำนึงถึงแรงเสียดทานที่เกิดกับว่าวแรงที่กระทำต่อสิ่งกีดขวางจะมีทิศทางเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นผิวของสิ่งกีดขวาง)แรงตึงของเชือกTจะมีทิศทางไปตามแนวเชือก
จากความรู้เรื่องสมดุลของแรงสามแรงนั้น เส้นเวกเตอร์ของแรงลมPและน้ำหนักWเมื่อวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยม เส้นทแยงมุมของแรงลัพธ์Rที่ผ่านจุดที่แรงลัพธ์กระทำจะมีทิศทางตรงข้ามกับเวกเตอร์ของแรงตึงเชือกTแต่มีขนาดเท่ากัน(นั่นคือ อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง 
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ 
 อาจารย์บอกสิ่งที่ต้องทำชัดเจนและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายไป 
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ 
ประเมินตนเอง 
ตนเองทำงานตามเวลาที่กำหนดและสามารถตอบคำถามได้เมื่อนำเสนอชิ้นงาน 
บรรยากาศในห้องเรียน 
อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์มีเพียงพอตามความต้องการ 






วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 2  ตุลาคม 2562 

 
   

ในวันนี้อาจารย์ได้นัดนักศึกษาที่ตึกนวัตกรรมเพื่อให้ไปรับฟังการสัมมนาหลังฝึกประสบการณ์ ครั้งที่ 1 ของพี่ๆปี ปี 5 เพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้และเตรียมตัวเอง 
ในส่วนของการฟังการบรรยายนั้น ได้ฟังของ ค.บ.คณิตศาสตร์  ค.บ. การศึกษาปฐมวัย  และ ค.บ. พลศึกษา  และขอยกตัวอย่างในส่วนของสาขาการศึกษาปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ 
สาขาการศึกษาปฐมวัย

กระบวนการที่ได้มาซึ่งหน่วยการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 

1 วิเคราะห์หลักสูตร 
1.1  มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 
1.2 สาระการเรียนรู้   แบ่งได้ 2 อย่าง คือ ประสบการณ์สำคัญ  สาระที่เด็กควรเรียนรู้ 

ประสบการณ์สำคัญ  ได้แก่  ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์ จิตใจ  ด้านสังคม และด้านสติปัญญา 
สาระที่เด็กควรเรียนรู้  ได้แก่  พื้นที่ต่างๆรอบตัวเด็ก  ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  บุคคลและสถานที่แวดล้อมรอบตัวเด็ก 

การเลือกหัวข้อในการสอน 
ยกตัวอย่างหน่วย อาหารดีมีประโยชน์ 
1 ใกล้ตัวเด็ก 
2 สัมพันธ์กับเด็ก 
3 ส่งผลกระทบต่อเด็ก 

อาหารหลัก 5 หมู่ คืออะไร
           
          อาหารหลัก 5 หมู่ คือ สารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำมาใช้ในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การขับถ่าย และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี โดยตามหลักโภชนาการจะแบ่งสารอาหารออกเป็น 5 ประเภท เรียกว่าอาหารหลัก 5 หมู่นั่นเอง
          ข้าว แป้ง เผือก มัน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรต เนื้อเป็นโปรตีน แล้วอาหารหลัก 5 หมู่ที่เหลือมีอะไรอีกบ้าง เราล่ะกินอาหารได้ครบตามหลักโภชนาการไหม

          อาหารหลัก 5 หมู่ เรารู้กันดีว่าเป็นหลักโภชนาการที่เราควรรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารครบถ้วน เพราะอาหารแต่ละหมู่จะมีประโยชน์ในด้านส่งเสริม ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแบบแตกต่างกันไป แต่อ๊ะ ! อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการไหม ลองมาฟื้นความรู้พื้นฐานกันหน่อยดีกว่า

อาหารหลัก 5 หมู่ คืออะไร
           
          อาหารหลัก 5 หมู่ คือ สารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำมาใช้ในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การขับถ่าย และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี โดยตามหลักโภชนาการจะแบ่งสารอาหารออกเป็น 5 ประเภท เรียกว่าอาหารหลัก 5 หมู่นั่นเอง

อาหารหลัก 5 หมู่
    
อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
          สารอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท เป็นอาหาร 5 หมู่ ตามนี้

อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน

          อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ปลา นม ซึ่งจัดเป็นแหล่งสำคัญของสารอาหารประเภทโปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทั้งยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยเฉพาะนมซึ่งเป็นแหล่งที่ดีของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ร่างกายต้องการแร่ธาตุ 2 ชนิดนี้ในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ที่สำคัญนมยังเป็นแหล่งชองวิตามินบี 2 และบี 12 อีกด้วย

          ส่วนอาหาร เช่น ถั่วเมล็ดแห้งและธัญพืช ก็จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพรองลงมา มีส่วนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเช่นกัน ทั้งนี้เราควรกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช ในปริมาณ 6-12 ช้อนกินข้าวต่อวัน ควบคู่ไปกับการดื่มนม 1-2 แก้วต่อวันเป็นประจำ
          ข้าว แป้ง เผือก มัน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรต เนื้อเป็นโปรตีน แล้วอาหารหลัก 5 หมู่ที่เหลือมีอะไรอีกบ้าง เราล่ะกินอาหารได้ครบตามหลักโภชนาการไหม

          อาหารหลัก 5 หมู่ เรารู้กันดีว่าเป็นหลักโภชนาการที่เราควรรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารครบถ้วน เพราะอาหารแต่ละหมู่จะมีประโยชน์ในด้านส่งเสริม ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแบบแตกต่างกันไป แต่อ๊ะ ! อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการไหม ลองมาฟื้นความรู้พื้นฐานกันหน่อยดีกว่า

อาหารหลัก 5 หมู่ คืออะไร
           
          อาหารหลัก 5 หมู่ คือ สารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำมาใช้ในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การขับถ่าย และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี โดยตามหลักโภชนาการจะแบ่งสารอาหารออกเป็น 5 ประเภท เรียกว่าอาหารหลัก 5 หมู่นั่นเอง

อาหารหลัก 5 หมู่
    
อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
          สารอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท เป็นอาหาร 5 หมู่ ตามนี้

อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน

          อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ปลา นม ซึ่งจัดเป็นแหล่งสำคัญของสารอาหารประเภทโปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทั้งยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยเฉพาะนมซึ่งเป็นแหล่งที่ดีของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ร่างกายต้องการแร่ธาตุ 2 ชนิดนี้ในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ที่สำคัญนมยังเป็นแหล่งชองวิตามินบี 2 และบี 12 อีกด้วย

          ส่วนอาหาร เช่น ถั่วเมล็ดแห้งและธัญพืช ก็จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพรองลงมา มีส่วนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเช่นกัน ทั้งนี้เราควรกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช ในปริมาณ 6-12 ช้อนกินข้าวต่อวัน ควบคู่ไปกับการดื่มนม 1-2 แก้วต่อวันเป็นประจำ

        อย่างที่บอกว่าอาหารหมู่ที่ 1 เป็นแหล่งของสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย ที่จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตเต็มวัยและมีพัฒนาการที่ดี โดยเฉพาะในเด็กเล็ก การขาดสารอาหารประเภทโปรตีนอาจก่อให้เกิดโรคแคระแกร็น ส่วนในผู้ใหญ่ที่อดอาหาร การขาดโปรตีนก็อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ดูอ่อนแอและอ่อนแรง ซึ่งหากขาดโปรตีนหนัก ๆ กล้ามเนื้ออาจจะลีบ เส้นผมก็อาจจะแห้งกระด้าง ไม่เงางามด้วยก็ได้

อาหารหลัก 5 หมู่
อาหารหมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต

          อาหารหมู่ที่ 2 ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมจีน ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ฟักทอง ข้าวโพด ธัญพืช และแป้งชนิดอื่น ๆ โดยอาหารดังกล่าวมีสารอาหารหลักคือคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานสำคัญชนิดหนึ่งของร่างกายที่เราควรได้รับประมาณ 8-12 ทัพพี (1 ทัพพีเท่ากับ 5 ช้อนกินข้าว) หรือคิดเป็นสัดส่วนได้ร้อยละ 60-65 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมด แต่ถ้าใครเป็นคนชอบออกกำลังกาย มีกิจกรรมในแต่ละวันมากมาย ก็ควรทานคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้น เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้นนั่นเอง

          ทั้งนี้เราอาจปรับเปลี่ยนประเภทของแป้งได้ในแต่ละวัน โดยสามารถเทียบพลังงานได้ ดังนี้

          ข้าวสุก 1 ทัพพี = ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี = ขนมจีน 1 จับ = ขนมปัง 1 แผ่น = บะหมี่ 1 ก้อน

          คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารให้พลังงานที่สำคัญกับร่างกายของเรา ให้ความอบอุ่น และช่วยทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวเพื่อทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ซึ่งถ้าหากร่างกายขาดสารอาหารประเภทนี้ ร่างกายก็จะเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เพราะสมองและกล้ามเนื้อต้องการกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตมาช่วยในการทำงาน หากขาดคาร์โบไฮเดรตไปก็จะทำให้ขาดพลังงานไปด้วย อีกทั้งยังอาจจะรู้สึกหงุดหงิด สมองไม่สดใสเพราะขาดกลูโคสมากระตุ้นการทำงาน ทำให้อารมณ์แปปรวนง่ายเพราะสารเคมีในร่างกายขาดความสมดุล



อาหารหลัก 5 หมู่
อาหารหมู่ที่ 3 แร่ธาตุ ใยอาหาร
          อาหารหมู่ที่ 3 เป็นผักใบเขียวและพืชผักชนิดต่าง ๆ ซึ่งแหล่งของสารอาหารประเภทแร่ธาตุ ใยอาหาร และกลุ่มสารพฤกษเคมีที่ผลิตโดยพืช เช่น เบต้าแคโรทีน ที่พบในผักสีเหลือง-ส้ม อย่างแครอท  ดอกโสน พริกเหลือง เป็นต้น อีกทั้งยังพบสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าไลโคปีน ได้จากผักที่มีสีแดงอย่างมะเขือเทศด้วย ซึ่งสารพฤกษเคมีเหล่านี้มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของความเสื่อมสภาพในร่างกาย

          นอกจากนี้ผักยังเป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มปริมาณและน้ำหนักอุจจาระ ส่งเสริมกระบวนการขับถ่ายให้ถ่ายคล่อง และช่วยดักจับสารเคมีที่เป็นพิษ รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
          อย่างไรก็ตาม เราควรรับประทานอาหารหลักหมู่ที่ 3 ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยกินผัก 4-6 ทัพพีต่อวัน ทั้งนี้เราสามารถปรับเปลี่ยนประเภทของผักตามสัดส่วนด้านล่าง

          ฟักทองสุก 1 ทัพพี = ผักคะน้าสุก 1 ทัพพี = ผักบุ้งจีนสุก 1 ทัพพี = แตงกวา 2 ผล

          ทั้งนี้หากร่างกายไม่ค่อยได้กินผัก ไม่ได้รับสารอาหารประเภทเกลือแร่อย่างเหมาะสมตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ อาจส่งผลกระทบให้เกิดอาการท้องผูก ป่วยง่าย ร่างกายอ่อนเพลียเนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
อาหารหลัก 5 หมู่
อาหารหมู่ที่ 4 วิตามิน

          อาหารหมู่ที่ 4 คือผลไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งนอกจากผลไม้จะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุแล้ว ผลไม้ยังมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลอยู่มากกว่าผัก จึงให้พลังงานกับร่างกายได้พอประมาณ อีกทั้งในผลไม้ทุกชนิดยังมีเส้นใยอาหารค่อนข้างสูงด้วยนะคะ ช่วยแก้ท้องผูกและช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายได้ดีเลยเชียวล่ะ เราจึงควรกินผลไม้ 3-5 ส่วนต่อวัน (ผลไม้ 1 ส่วนเท่ากับส้มเขียวหวาน 2 ผลกลาง ชมพู่ 2 ผลใหญ่ หรือฝรั่งครึ่งผลกลาง เป็นต้น) หรือสามารถเทียบปริมาณได้ตามนี้

          ผลไม้ 1 ส่วน = เงาะ 4 ผล = ฝรั่งครึ่งผลกลาง = มะม่วงดิบครึ่งผล = กล้วยน้ำว้า 1 ผล = ส้มเขียวหวาน 1 ผลใหญ่ = มะละกอ หรือสับปะรด หรือแตงโม 6-8 ชิ้นพอคำ = ลองกอง หรือลำไย หรือองุ่น 6-8 ผล

          ซึ่งเราควรกินผลไม้และสารอาหารประเภทวิตามินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรืออย่างน้อย ๆ ควรต้องได้รับวิตามินเป็นประจำทุกวัน เพราะหากร่างกายขาดวิตามินชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะวิตามินซี และวิตามินบี อาจก่อให้เกิดอาการเหน็บชา โรคปากนกกระจอก และทำให้ป่วยได้ง่าย นอกจากนี้การขาดวิตามินซียังเป็นสาเหตุของโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน

      

อาหารหลัก 5 หมู่

อาหารหมู่ที่ 5 น้ำมัน ไขมันจากพืชและไขมันจากสัตว์


          อาหารหมู่ที่ 5 ได้แก่ ไขมันจากปลา เช่น ปลาทู ปลาช่อน ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันตับปลา หรือไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจากธัญพืช น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด หรือน้ำมันมะพร้าว ซึ่งไขมันเหล่านี้จัดเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย มีคุณประโยชน์ในด้านให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ทั้งนี้ก็ควรรับประทานไขมันอย่างพอเหมาะ โดยควรรับประทานน้ำมันไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน (น้อยกว่า 600 กิโลแคลอรีต่อวัน) และควรเลือกกินไขมันชนิดดีอย่างไขมันจากเนื้อปลา ไขมันจากธัญพืช หรือไขมันจากดอกไม้ เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
    
   ทั้งนี้ ตามหลักธงโภชนาการ ในแต่ละวัน เราควรทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้มากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มผัก-ผลไม้  ตามด้วยกลุ่มโปรตีนและนม ส่วนไขมัน น้ำตาล และเกลือควรบริโภคแต่น้อยนะคะ 

อาหารหลัก 5 หมู่
ภาพจาก กรมอนามัย

อ้างอิง  ในส่วนของอาหารหลัก5หมู่  

กระบวนการได้มาซึ่งหน่วยการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 

     ศึกษาประสบการณ์สำคัญ กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  ออกแบบกิจกรรมเพื่อจัดประสบการณ์

นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  คือ   ดร. เดวิด ไวดาร์ท 

การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของ ไฮสโคป (High Scope) 

ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง

แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) เป็นอย่างไร

ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope)

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ในเมื่อหลักการของแนวนี้คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็จำเป็นต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการลื่นไหลของกิจกรรม และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น
1. พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
2. วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
3. การจัดเก็บ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ

ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก

1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
2. การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
3. เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย  ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ
ทักษะสมอง EF คืออะไร
ทักษะสมอง EF (Executive Functions) คือ ชุดกระบวนการคิด ที่ทำงานในสมองส่วนหน้าของเรา ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ทำให้รู้สึกยั้งคิดยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของเราได้ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผนบริหารจัดการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงนักวิทยาศาสตร์พบว่า ทักษะ EF ทำให้เราสามารถกำกับควบคุมตัวเองได้ (Self-Regulation) สามารถคิดในระดับสูง (High-Level Cognitive Functions) ได้ดีกว่าสัตว์ นั่นคือ มนุษย์สามารถใช้เหตุและผลได้ ควบคุมสัญชาตญาณและความรู้สึกให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้ สามารถวางแผนและดำเนินการสิ่งยากๆ ได้ พูดได้ว่าทักษะสมอง EF คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์เราเป็น “มนุษย์” แตกต่างไปจากสัตว์นั่นเอง
ทักษะสมอง EF ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่ ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition) ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) ทักษะจดจ่อใจใส่ (Focus/Attention) ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring) ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing) ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing) ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
รูปภาพประกอบ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มาตามนัดตรงเวลา และอธิบายงานเข้าใจ ละเอียด ประเมินตนเอง มาตรงเวลาและพร้อมกับงานที่ได้รับมอบหมายงาน ประเมินเพื่อนร่วมห้อง เพื่อนมาสายเป็นส่วนน้อย บรรยากาศในสถานที่ จัดในสถานที่ที่เหมาะสมและมีพื้นที่เพียงพอ