วันนี้เป็นวันที่เรียนตามปกติและยกชั่วโมงเรียนของสัปดาห์ที่แล้วมาเพิ่มเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ผู้สอนติดธุระสำคัญ
เนื้อหาที่เรียน
1 สาธิตการทดลองของแต่ละกลุ่ม เหมือนสัปดาห์ที่แล้ว
2 ทำประดิษฐ์ทั้งหมด 3 ชิ้น
ชิ้นที่ 1
ใช้กระดาษขนาด A4 พับครึ่งลายตั้ง แล้วตัด จะเป็นทั้งหมด 2 แผ่น นำกระดาษแผ่นหนึ่งมาพับโดยเหลือมุมไว้ขนาด 1 นิ้ว แล้วให้วาดรูป1รูป ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ให้มีความแตกต่างกัน เช่น ท่าทาง เครื่องแต่งกาย สัญลักษณ์ เป็นต้น ตกแต่งให้สวยงาม หลังจากนั้น ให้ใช้มือข้างซ้ายจับกระดาษและใช้มือข้างขวาจับมุมด้านล่างของกระดาษ เปิด ปิด อย่างรวดเร็ว
รูปภาพประกอบ
ชิ้นที่ 2
ใช้กระดาษอีกด้านที่เหลือ พับครึ่งแล้ววาดรูปรูปเดียวให้ได้ทั้งด้านหน้าด้านหลัง ใช้กระดาษมาม้วนเป็นไม้ ใช้กาวติดลงไปในกระดาษ เมื่อหมุนจะประกอบเป็นรูปภาพเดียวกัน
รูปภาพประกอบ
ชิ้นงาน ที่ 3
ชิ้นนี้ให้คิดขึ้นเองแล้วบอกว่า เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
รูปภาพประกอบ
คำอธิบายเพิ่มเติม
องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศได้คือ
1. กระแสลมที่เคลื่อนที่ไปในแนวขนานกับผิวโลกทางใดทางหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ
2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกได้แก่พื้นที่ของตัวว่าว
3.อุปกรณ์บังคับ ได้แก่ เชือกหรือด้ายรั้งว่าว และสายซุง ซึ่งทำหน้าที่ปรับมุมปะทะของอากาศกับพื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน
2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกได้แก่พื้นที่ของตัวว่าว
3.อุปกรณ์บังคับ ได้แก่ เชือกหรือด้ายรั้งว่าว และสายซุง ซึ่งทำหน้าที่ปรับมุมปะทะของอากาศกับพื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน
ดังนั้น การเล่นว่าวต้องอาศัยลม ลมเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ บางวันลมแรง บางวันลมอ่อน เราจะควบคุมได้ก็เพียงตัวว่าวของเราเอง เมื่อว่าวปะทะลม จะมีแรงมาเกี่ยวข้องด้วย คือ แรงจากน้ำหนักของว่าว แรงฉุดไปตามทิศทางของลม และแรงยกในทิศทางตรงข้ามของน้ำหนัก ผลรวมของแรงทั้งสาม เกิดเป็นแรงลัพท์ที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปได้ และทิศทางของแรงลัพท์นี้ จะอยู่ในแนวเดียวกับแนวเชือกว่าวที่ต่อออกจากคอซุงพอดีในขณะที่ว่าวเคลื่อนที่สวนทางลม และตัวว่าวทำมุมเงย ทำให้เกิดมุมปะทะกับพื้นที่ตัวว่าว ทำให้อากาศด้านบน (หลังว่าว) ไหลเร็วกว่าด้านล่างว่าว ความกดดันอากาศจึงลดลง ทำให้เกิดแรงยกขึ้น ในขณะเดียวกัน ลมด้านล่าง (ใต้ว่าว) เคลื่อนที่ช้ากว่า ทำให้เกิดความกดดันสูง จึงพยายามปรับตัวให้มีความดันเท่ากับด้านบน จึงดันว่าวให้ลอยขึ้นด้านบน
ว่าวจะขึ้นได้จะต้องมีแรงถ่วง (น้ำหนักของว่าว) น้อยกว่าแรงยก และแรงขับ (ลม) ต้องมีความเร็วมากพอที่จะชนะแรงต้าน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับกระแสลม
แรงที่กระทำต่อว่าว
แรงที่กระทำต่อว่าวที่สำคัญมี3แรง คือ แรงของน้ำหนักWแรงลมPและแรงตึงของเชือกT
น้ำหนักWของว่าวมีทิศทางลงล่าง แรงลมPเป็นแนวตั้งฉากกับว่าว(หากไม่คำนึงถึงแรงเสียดทานที่เกิดกับว่าวแรงที่กระทำต่อสิ่งกีดขวางจะมีทิศทางเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นผิวของสิ่งกีดขวาง)แรงตึงของเชือกTจะมีทิศทางไปตามแนวเชือก
จากความรู้เรื่องสมดุลของแรงสามแรงนั้น เส้นเวกเตอร์ของแรงลมPและน้ำหนักWเมื่อวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยม เส้นทแยงมุมของแรงลัพธ์Rที่ผ่านจุดที่แรงลัพธ์กระทำจะมีทิศทางตรงข้ามกับเวกเตอร์ของแรงตึงเชือกTแต่มีขนาดเท่ากัน(นั่นคือ อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ประเมิน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์บอกสิ่งที่ต้องทำชัดเจนและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายไป
อาจารย์บอกสิ่งที่ต้องทำชัดเจนและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายไป
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ
เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ
ประเมินตนเอง
ตนเองทำงานตามเวลาที่กำหนดและสามารถตอบคำถามได้เมื่อนำเสนอชิ้นงาน
ตนเองทำงานตามเวลาที่กำหนดและสามารถตอบคำถามได้เมื่อนำเสนอชิ้นงาน
บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์มีเพียงพอตามความต้องการ
อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์มีเพียงพอตามความต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น