สรุปวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ ของ
ศศิพรรณ สําแดงเดช
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุ 5 – 6 ปีจํานวน 15 คน
ที่ กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรยนที2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
สํานักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานครซึ่งได้มา จากการเลือกแบบหลายขั้นตอน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครงน้ั ี้คือ แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 24 แผน และ
แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.66 การดําเนินการทดลองได้แก่แบบ
แผนการทดลอง One – Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถติ t – test for ิ
Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อจําแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า ทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตการจําแนก การสื่อสาร ทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .01
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ความสําคญของการวิจัย
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสําคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
ปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเปนแนวทางในการทำกิจกรรมการ
ทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กําลัง
ศึกษาอยในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานกูล)
สํานักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจํานวน 5 ห้องเรียน จํานวน 175 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
วิธีการดําเนินการทดลอง ิ
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทําการทดลองเป็นเวลา
8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีทําการทดลองในช่วงเวลา 08.30 – 09.00
น. รวม 24 ครั้ง มีลําดับขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2. ผู้วิจัยดําเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ30 นาที
ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่
ผู้วิจัยดําเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช้กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วย
สอน
3. เมื่อดําเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ผู้วิจัยทําการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ชุดเดียวกับก่อนการ
ทดลอง
4. นําข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถติ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบวดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมั่น .66
สรุปผลการทดลอง
1 เด็กปฐมวัยทั ี่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01
2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน
การสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน
โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับด ีมาก ด้านการจําแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี
สรุปบทความ
สอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons)
ลิงค์ http://taamkru.com/th/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5/?fbclid=IwAR3HxG8rTZXxJRqXC8zNmSOnJ9gVGk0FVRQ7NmoE7KvdmaneRk39alaSQSw
การสอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตามสภาพอากาศ แต่ละฤดูกาลจะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการเคลื่อนที่ของอากาศ ในแต่ละภูมิภาคจะมีช่วงฤดู กาลแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยมี 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ภาคใต้ของประเทศไทยมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เด็กจึงควรรู้จักและเข้าใจสภาพธรรมชาติของฤดูกาล เพื่อได้อยู่อย่างมีความสุขกับธรรมชาติ การสอนให้เด็กเข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงถูกบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษาปฐม วัย พุทธศักราช 2546 ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากสภาพจริงในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมอื่นๆที่ครูออกแบบตอบสนองความสนใจของเด็ก รวมทั้งพ่อแม่ที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้แก่ลูกเรื่องฤดูกาลเช่นกัน
การสอนเรื่องฤดูกาลสำคัญดังนี้
- -เรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับคนเราเสมอ จึงควรสอนความรู้ให้แก่เด็ก
- -ความเป็นธรรมชาติเป็นเรื่องของเหตุและผล จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจ สืบค้นเรื่องราวที่เกี่ยว ข้องกับฤดูกาลเพื่อต่อยอดได้ต่อไป
- -การเรียนเรื่องใดๆเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนช่างคิด ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ควรปลูกฝังให้แก่เด็กปฐมวัย
- -นิสัยของเด็กปฐมวัยจะชอบสำรวจธรรมชาติ ดังนั้น การเรียนเรื่องฤดูกาลเป็นการตอบสนองความสนใจให้แก่เด็ก
- ครูสอนเรื่องฤดูกาลให้กับเด็กปฐมวัย
- ในช่วงปีหนึ่งๆ มีฤดูกาลเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และแตกต่างไปตามสภาพแต่ละท้องถิ่น ครูจะจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้สังเกตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรง เช่น
- -ช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกติดต่อกันทั้งวัน การสนทนาของครูและเด็กเริ่มตั้งแต่เช้า ด้วยคำถามช่วนให้สังเกตและคิดว่า เราแต่งกายอย่างไร เราใช้อะไรเป็นเครื่องกันฝน ทำไมเราต้องทำเช่นนั้น ครูอาจชวนเด็กๆมายืนที่หน้าต่างมองผ่านกระจกไป เราเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างไร บางทีการที่ให้เด็กได้สัมผัสน้ำฝนที่ไหลตามรางน้ำหรือหยดจากชายคา ทำให้เด็กสนุกสนาน ได้รู้ สึกความเย็นฉ่ำของน้ำฝน น้ำเป็นของเหลวจับไม่ได้ หลังฝนตก ครูอาจพาเด็กไปที่สนามหญ้าหรือลานดิน ดูใบไม้ที่มีหยดน้ำฝนเกาะ น้ำที่ขังในแอ่งดินหรือกอหญ้า ในอ่างน้ำอาจจะมีกบและไข่กบ
- -ในฤดูหนาว ลมหนาวที่พัดโชยมา ผิวกายของเด็กสัมผัสถึงความเย็น เด็กๆจะต้องสวมเสื้อกันหนาว แตกต่างจากเสื้อกันฝน ครูอาจนำเด็กไปสำรวจรอบๆโรงเรียน ดูใบไม้บางชนิดเปลี่ยนสีใบ ท้องฟ้ามีหมอกบางๆ เด็กจะต้องนอนห่มผ้าให้อบอุ่น
- -เมื่อมาถึงฤดูร้อน เด็กๆจะเห็นแสงแดดส่องทั่วสนาม การยืนกลางแสงแดดจะร้อนมากขึ้นๆ เด็กๆจะกระหายน้ำมากในช่วงฤดูร้อน การสวมเสื้อผ้าจะต้องเลือกที่เบาบาง
การสอนผ่านสภาพจริงจะเกิดประโยชน์โดยตรงที่เด็กจะรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพแข็งแรงส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหลักทั้งหก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ครูอาจกำหนดหน่วยการสอนตามช่วงฤดูกาลของท้องถิ่น คือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน เด็กๆจะเรียนรู้จากกิจกรรมดังกล่าว ดังตัว อย่างต่อไปนี้- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เมื่อครูให้เด็กเคลื่อนไหวพื้นฐานแล้ว เด็กสามารถเลือกลักษณะกิจกรรมเคลื่อน ไหวและจังหวะแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็ก เช่น เลียนแบบท่าทางของสัตว์ในฤดูฝน เช่น กบ ปลา การเคลื่อนไหวตามบทเพลง เช่น เพลงลมหนาว เพลงฝนตก เพลงว่าว การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและทำนองเพลง หรือคำคล้องจอง ซึ่งเหมาะสมมากในช่วงฤดูหนาว เพื่อให้เด็กเกิดความอบอุ่น สบายตัว เป็นต้น
- กิจกรรมสร้างสรรค์ ระบายสีท้องฟ้าที่เด็กเห็นในแต่ละฤดูกาล ประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องเล่นในแต่ฤดูกาล เช่น
- ฤดูร้อน ประดิษฐ์ว่าว กังหัน จรวด พัดลม หมวกชายหาด ฯลฯ
- ฤดูฝน ประดิษฐ์ร่ม หมวกกันฝน
- ฤดูหนาว ประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษวัสดุ ฯลฯ
งานปั้นและงานกระดาษ ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้มือและนิ้วมือ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก พร้อมๆกับการได้คิดสร้างสรรค์โดยมีประสบการณ์เรื่องฤดูกาลเป็นพื้นฐานให้เด็ก- กิจกรรมเสรี การจัดกระบะทรายเป็นอีกมุมหนึ่งที่ครูมักจัดเสริมให้เด็กเรียนรู้ นอกเหนือจากการให้เด็กได้ประสบ การณ์ตรงจากสภาพจริงของฤดูกาลต่างๆแล้ว โดยจัดหาอุปกรณ์เครื่องเล่น เช่น ถ้วยตวง ขวด ช้อน ตัวสัตว์พลาสติก ต้นไม้จำลอง ฯลฯ เพื่อให้เด็กนำมาจัดตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง จัดมุมบ้าน มุมร้านค้า มุมวัด มุมหมอ มุมเกษตรกร ฯลฯพร้อมอุปกรณ์ ที่เด็กใช้ประกอบบทบาทสมมตที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล เช่น เครื่องแบบของคนอาชีพหมอ รักษาผู้ป่วยที่เกิดขึ้นในฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง เช่น ฝนตกมาก หนาวมาก เด็กจะเป็นหวัด ไม่สบายไปหาหมอ เครื่องแต่งกายเครื่องใช้ในการประ กอบอาชีพ เช่น กระบุง ตะกร้า ไม้คาน เครื่องมือจับปลา รองเท้าฯ
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- ครูอาจนำเด็กไปทัศนศึกษาชายทะเล น้ำตก ในช่วงฤดูร้อน ไปสำรวจพืชและสัตว์ พื้นดิน ห้วยน้ำ รอบๆโรงเรียนและชุม ชน
- ในฤดูฝน ครูมีคำถามให้เด็กสนใจและร่วมคิดว่า เด็กคิดว่าฝนไปอยู่ในอากาศได้อย่างไร หรือเป็นคำถามที่เด็กๆมักสนใจ -ถามว่า ฝนมาจากไหน เด็กจะได้ทดลองสังเกตไอน้ำที่จับตัวกัน และกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในอากาศ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ปริมาณน้ำฝนมีต่างๆกัน เรามีความจำเป็นที่ต้องทราบว่า ฝนตกเท่าใด (ปัจจุบันเรื่องโลกร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดน้ำท่วม เรื่องปริมาณน้ำจึงเป็นเรื่องที่น่า สนใจมากสำหรับเด็กๆ ที่มาจากครอบครัวที่ทำไร่ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง)
- คำถามว่ารุ้งมาจากไหน อะไรทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ เด็กๆจะได้ทดลองและทราบว่า แสงอาทิตย์และหยาดน้ำฝนทำให้เกิดรุ้งกินน้ำได้ ในช่วงฤดูหนาว การเกิดน้ำค้างแข็งบนยอดหญ้า
- คำถามที่น่าสนใจคือ หยดน้ำเปลี่ยนสภาพไปอย่างไรในอากาศที่เย็นจัด
กิจกรรมการทดลองจะส่งเสริมให้เด็กสนใจและรู้จักธรรมชาติ นอกจากสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติแล้ว ครูจะบูรณาการเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่แสดงถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราเกี่ยวข้องกับฤดูกาล เช่น เครื่องแต่งกายในแต่ละฤดูกาล อาหาร ของใช้ ของเล่น บ้านที่อยู่อาศัย สถานที่ ที่อยู่สัมพันธ์กับภูมิอากาศ สังเกตวัตถุอุปกรณ์ที่นำมาผลิต รูปแบบจะแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เห็นความแตกต่างและความเหมือนกับท้องถิ่นอื่น ประเทศอื่นๆ และการรัก ษาสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อฤดูกาลจะเป็นปกติ -
- สรุปตัวอย่างการสอน
- เรื่อง จุดประกาย นักวิทยาศาสตร์น้อย
- ครูเฉลิมชัย วัดเข้าหลาม
- ชั้น :ป.4กลุ่มสาระ :วิทยาศาสตร์หมวด :เทคนิคการสอนรายละเอียด :เปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ อันแสนสนุกของ ครูเฉลิมชัย วัดเข้าหลาม รร.ราชวินิต ประถม เพื่อเรียนรู้หลักการของเสียง การกำเนิดเสียง และ การเดินทางของเสียง พร้อมเผยความลับที่จะเปลี่ยนแปลงนักเรียนให้เป็น ʺนักวิทยาศาสตร์น้อยʺ
-