วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันที่ 14 สิงหาคม 2562



วันนี้เรียนรู้ผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นทางไลน์โดยสแกนคิวอาร์โค้ดจากอาจารย์เพื่อตอบคำามอยู่2 ข้อ คือ นักศึกษาคิดว่าในรายวิชานี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง อีกหนึ่งคำถามคือคำถามเดียวกันแต่จะใช้ตอบหลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้วและอาจารย์มอบมายงานให้กับนักศึกษาเป็นรายกลุ่มและเดี่ยวในอนาคต ให้ทำผ่าน www.thinklink.com แล้งลิงค์ผ่าน Blog 

สรุปเนื้อหาที่เรียน 

 สมองสำคัญกับเด็กปฐมวัย เนื่องจาก ครู มีหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้ของสมองและใช้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย วิธีการเกิดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยคือการเล่น การเล่นเป็นหัวใจของเด็กระดับปฐมวัย
ยกตัวอย่างเช่น  การใช้เพลงประกอบท่าทางที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และสิ่งที่ได้รับจากการลงมือปฎิบัติของเด็ก ดังนี้ 
- การทำงานของสมองเพื่อให้เด็กแสดงออกโดยการใช้สื่อในการแยกแยะการทำงานของสมองซีกซ้าย ซีกขวา 
- การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการเล่นเป็นการเรียนรู้
- การเรียงลำดับจากง่ายไปยากเพื่อไม่ให้เกิดความซับซ้อนให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กในแต่ละคนเนื่องจากพัฒนาการและความสามารถของเด็กแตกต่างกัน

ทฤษฎีของเพียเจต์ 
             เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 

     โดยในส่วนของการเรียนรู้จะยกมาแค่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเรียนรู้ 

-ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)
  ขั้นนี้เด็กจะอยู่กับความเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ 

ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)
   เด็กในขั้นนี้จะเริ่มจดจำ ซึมซับรับรู้ในเรื่องของภาษา คำศัพท์

ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 
  เด็กสามารถพูดภาษาได้ดีขึ้น และอธิบายเป็นคำพูดออกมา

- ขั้นอนุรักษ์ (Conservation )
ยกตัวอย่างเช่น การวางเชือกที่ขนาดเท่ากัน วางต่างกัน และเด็กสามารถบอกได้ว่าเชือกมีขนาดเท่ากันโดยใช้เหตุผลประกอบ


พัฒนาการ

ลักษณะของพัฒนาการ 
        การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
นิยามของพัฒนาการ 
        ความสามารถของพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถของช่วงวัย
การเรียนรู้
        การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
        การลงมือปฎิบัติด้วยประสาสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการลงมือปฎิบัติคือ การเรียนรู้ผ่านการเล่น

รูปภาพประจำวันนี้











คำศัพท์ 

Sensori-Motor Stage     ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว 

Concrete Operation Stage   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม

 Preoperational Stage   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
Development  พัฒนาการ 
Learning  การเรียนรู้ 

 ประเมินอาจารย์ผู้สอน 
  อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ชัดเจน และใช้เวลาที่เหมาะสม มีการทบทวนให้กับนักศึกษา

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  เพื่อนตั้งใจฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้

ประเมินตนเอง
รับสารยังงงอยู่และค่อยๆเรียนรู้

บรรยากาศภายในห้องเรียน
ห้องเรียนกว้าง สะดวกสบายต่อการเรียนรู้ 



        

   



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น