วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่  10  วันที่ 30  ตุลาคม 2562



วันนี้เป็นวันที่ลงพื้นที่ใน ศุนย์พัฒนาเสือใหญ่  กับการทดลองวิทยาศาสตร์ จำนวน 3  กลุ่ม 
รายละเอียดดังนี้ 


ตัวอย่างการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย



 












สิ่งที่ควรปรับปรุง 
     การทำซาร์ตการทดลอง ควร มีรูปภาพหรือควรเอาไว้แผ่นเดียวกัน และเมื่อทำการทดลองเสร็จแล้วควรถามเด็กๆว่า สนุกไหม เป็นอย่างไรบ้าง  นอกจากนั้น ควรถามความคิดเห็นจากคุณครูในศูนย์พัฒนาเสือใหญ่ด้วยว่า หลงจากทำการทดลองเสร็จแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง และ มีความคิดเห็นตรงส่วนไหน หรือผิดพลาดตรงไหนบ้าง เพื่อเป็นการสะท้อนตัวนักศึกษาเองและนำไปปรับใช้ในกิจกรรมต่อไป 

การประเมิน 

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์คอยช่วยเหลือและชี้แนะในส่วนที่ทำพลาด 

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 
เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมตามหน้าที่ที่ตนเองได้รับ 

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจทำกิจกรรมตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี 

บรรยากาศในสถานที่ 
สถานที่มีความสะอาด แต่ตั้งอยุ่ติดกับถนนไปหน่อย 







วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9  วันที่  16  ตุลาคม 2652



วันนี้เป็นวันที่เรียนตามปกติและยกชั่วโมงเรียนของสัปดาห์ที่แล้วมาเพิ่มเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ผู้สอนติดธุระสำคัญ

เนื้อหาที่เรียน 
     1  สาธิตการทดลองของแต่ละกลุ่ม เหมือนสัปดาห์ที่แล้ว
     2  ทำประดิษฐ์ทั้งหมด 3 ชิ้น
ชิ้นที่ 1 
ใช้กระดาษขนาด A4  พับครึ่งลายตั้ง แล้วตัด จะเป็นทั้งหมด 2 แผ่น นำกระดาษแผ่นหนึ่งมาพับโดยเหลือมุมไว้ขนาด 1 นิ้ว  แล้วให้วาดรูป1รูป ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ให้มีความแตกต่างกัน เช่น ท่าทาง เครื่องแต่งกาย สัญลักษณ์  เป็นต้น  ตกแต่งให้สวยงาม หลังจากนั้น ให้ใช้มือข้างซ้ายจับกระดาษและใช้มือข้างขวาจับมุมด้านล่างของกระดาษ เปิด ปิด อย่างรวดเร็ว

รูปภาพประกอบ 






ชิ้นที่ 2 
ใช้กระดาษอีกด้านที่เหลือ พับครึ่งแล้ววาดรูปรูปเดียวให้ได้ทั้งด้านหน้าด้านหลัง ใช้กระดาษมาม้วนเป็นไม้ ใช้กาวติดลงไปในกระดาษ เมื่อหมุนจะประกอบเป็นรูปภาพเดียวกัน

รูปภาพประกอบ




ชิ้นงาน ที่ 3
ชิ้นนี้ให้คิดขึ้นเองแล้วบอกว่า เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

รูปภาพประกอบ

คำอธิบายเพิ่มเติม
องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศได้คือ
1. กระแสลมที่เคลื่อนที่ไปในแนวขนานกับผิวโลกทางใดทางหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ
2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกได้แก่พื้นที่ของตัวว่าว
3.อุปกรณ์บังคับ ได้แก่ เชือกหรือด้ายรั้งว่าว และสายซุง ซึ่งทำหน้าที่ปรับมุมปะทะของอากาศกับพื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน
ดังนั้น การเล่นว่าวต้องอาศัยลม ลมเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ บางวันลมแรง บางวันลมอ่อน เราจะควบคุมได้ก็เพียงตัวว่าวของเราเอง เมื่อว่าวปะทะลม จะมีแรงมาเกี่ยวข้องด้วย คือ แรงจากน้ำหนักของว่าว แรงฉุดไปตามทิศทางของลม และแรงยกในทิศทางตรงข้ามของน้ำหนัก ผลรวมของแรงทั้งสาม เกิดเป็นแรงลัพท์ที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปได้ และทิศทางของแรงลัพท์นี้ จะอยู่ในแนวเดียวกับแนวเชือกว่าวที่ต่อออกจากคอซุงพอดีในขณะที่ว่าวเคลื่อนที่สวนทางลม และตัวว่าวทำมุมเงย ทำให้เกิดมุมปะทะกับพื้นที่ตัวว่าว ทำให้อากาศด้านบน (หลังว่าว) ไหลเร็วกว่าด้านล่างว่าว ความกดดันอากาศจึงลดลง ทำให้เกิดแรงยกขึ้น ในขณะเดียวกัน ลมด้านล่าง (ใต้ว่าว) เคลื่อนที่ช้ากว่า ทำให้เกิดความกดดันสูง จึงพยายามปรับตัวให้มีความดันเท่ากับด้านบน จึงดันว่าวให้ลอยขึ้นด้านบน
ว่าวจะขึ้นได้จะต้องมีแรงถ่วง (น้ำหนักของว่าว) น้อยกว่าแรงยก และแรงขับ (ลม) ต้องมีความเร็วมากพอที่จะชนะแรงต้าน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับกระแสลม
แรงที่กระทำต่อว่าว
แรงที่กระทำต่อว่าวที่สำคัญมี3แรง คือ แรงของน้ำหนักWแรงลมPและแรงตึงของเชือกT
น้ำหนักWของว่าวมีทิศทางลงล่าง แรงลมPเป็นแนวตั้งฉากกับว่าว(หากไม่คำนึงถึงแรงเสียดทานที่เกิดกับว่าวแรงที่กระทำต่อสิ่งกีดขวางจะมีทิศทางเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นผิวของสิ่งกีดขวาง)แรงตึงของเชือกTจะมีทิศทางไปตามแนวเชือก
จากความรู้เรื่องสมดุลของแรงสามแรงนั้น เส้นเวกเตอร์ของแรงลมPและน้ำหนักWเมื่อวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยม เส้นทแยงมุมของแรงลัพธ์Rที่ผ่านจุดที่แรงลัพธ์กระทำจะมีทิศทางตรงข้ามกับเวกเตอร์ของแรงตึงเชือกTแต่มีขนาดเท่ากัน(นั่นคือ อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง 
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ 
 อาจารย์บอกสิ่งที่ต้องทำชัดเจนและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายไป 
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ 
ประเมินตนเอง 
ตนเองทำงานตามเวลาที่กำหนดและสามารถตอบคำถามได้เมื่อนำเสนอชิ้นงาน 
บรรยากาศในห้องเรียน 
อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์มีเพียงพอตามความต้องการ 






วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 2  ตุลาคม 2562 

 
   

ในวันนี้อาจารย์ได้นัดนักศึกษาที่ตึกนวัตกรรมเพื่อให้ไปรับฟังการสัมมนาหลังฝึกประสบการณ์ ครั้งที่ 1 ของพี่ๆปี ปี 5 เพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้และเตรียมตัวเอง 
ในส่วนของการฟังการบรรยายนั้น ได้ฟังของ ค.บ.คณิตศาสตร์  ค.บ. การศึกษาปฐมวัย  และ ค.บ. พลศึกษา  และขอยกตัวอย่างในส่วนของสาขาการศึกษาปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ 
สาขาการศึกษาปฐมวัย

กระบวนการที่ได้มาซึ่งหน่วยการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 

1 วิเคราะห์หลักสูตร 
1.1  มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 
1.2 สาระการเรียนรู้   แบ่งได้ 2 อย่าง คือ ประสบการณ์สำคัญ  สาระที่เด็กควรเรียนรู้ 

ประสบการณ์สำคัญ  ได้แก่  ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์ จิตใจ  ด้านสังคม และด้านสติปัญญา 
สาระที่เด็กควรเรียนรู้  ได้แก่  พื้นที่ต่างๆรอบตัวเด็ก  ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  บุคคลและสถานที่แวดล้อมรอบตัวเด็ก 

การเลือกหัวข้อในการสอน 
ยกตัวอย่างหน่วย อาหารดีมีประโยชน์ 
1 ใกล้ตัวเด็ก 
2 สัมพันธ์กับเด็ก 
3 ส่งผลกระทบต่อเด็ก 

อาหารหลัก 5 หมู่ คืออะไร
           
          อาหารหลัก 5 หมู่ คือ สารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำมาใช้ในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การขับถ่าย และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี โดยตามหลักโภชนาการจะแบ่งสารอาหารออกเป็น 5 ประเภท เรียกว่าอาหารหลัก 5 หมู่นั่นเอง
          ข้าว แป้ง เผือก มัน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรต เนื้อเป็นโปรตีน แล้วอาหารหลัก 5 หมู่ที่เหลือมีอะไรอีกบ้าง เราล่ะกินอาหารได้ครบตามหลักโภชนาการไหม

          อาหารหลัก 5 หมู่ เรารู้กันดีว่าเป็นหลักโภชนาการที่เราควรรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารครบถ้วน เพราะอาหารแต่ละหมู่จะมีประโยชน์ในด้านส่งเสริม ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแบบแตกต่างกันไป แต่อ๊ะ ! อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการไหม ลองมาฟื้นความรู้พื้นฐานกันหน่อยดีกว่า

อาหารหลัก 5 หมู่ คืออะไร
           
          อาหารหลัก 5 หมู่ คือ สารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำมาใช้ในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การขับถ่าย และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี โดยตามหลักโภชนาการจะแบ่งสารอาหารออกเป็น 5 ประเภท เรียกว่าอาหารหลัก 5 หมู่นั่นเอง

อาหารหลัก 5 หมู่
    
อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
          สารอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท เป็นอาหาร 5 หมู่ ตามนี้

อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน

          อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ปลา นม ซึ่งจัดเป็นแหล่งสำคัญของสารอาหารประเภทโปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทั้งยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยเฉพาะนมซึ่งเป็นแหล่งที่ดีของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ร่างกายต้องการแร่ธาตุ 2 ชนิดนี้ในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ที่สำคัญนมยังเป็นแหล่งชองวิตามินบี 2 และบี 12 อีกด้วย

          ส่วนอาหาร เช่น ถั่วเมล็ดแห้งและธัญพืช ก็จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพรองลงมา มีส่วนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเช่นกัน ทั้งนี้เราควรกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช ในปริมาณ 6-12 ช้อนกินข้าวต่อวัน ควบคู่ไปกับการดื่มนม 1-2 แก้วต่อวันเป็นประจำ
          ข้าว แป้ง เผือก มัน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรต เนื้อเป็นโปรตีน แล้วอาหารหลัก 5 หมู่ที่เหลือมีอะไรอีกบ้าง เราล่ะกินอาหารได้ครบตามหลักโภชนาการไหม

          อาหารหลัก 5 หมู่ เรารู้กันดีว่าเป็นหลักโภชนาการที่เราควรรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารครบถ้วน เพราะอาหารแต่ละหมู่จะมีประโยชน์ในด้านส่งเสริม ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแบบแตกต่างกันไป แต่อ๊ะ ! อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการไหม ลองมาฟื้นความรู้พื้นฐานกันหน่อยดีกว่า

อาหารหลัก 5 หมู่ คืออะไร
           
          อาหารหลัก 5 หมู่ คือ สารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำมาใช้ในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การขับถ่าย และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี โดยตามหลักโภชนาการจะแบ่งสารอาหารออกเป็น 5 ประเภท เรียกว่าอาหารหลัก 5 หมู่นั่นเอง

อาหารหลัก 5 หมู่
    
อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
          สารอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท เป็นอาหาร 5 หมู่ ตามนี้

อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน

          อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ปลา นม ซึ่งจัดเป็นแหล่งสำคัญของสารอาหารประเภทโปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทั้งยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยเฉพาะนมซึ่งเป็นแหล่งที่ดีของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ร่างกายต้องการแร่ธาตุ 2 ชนิดนี้ในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ที่สำคัญนมยังเป็นแหล่งชองวิตามินบี 2 และบี 12 อีกด้วย

          ส่วนอาหาร เช่น ถั่วเมล็ดแห้งและธัญพืช ก็จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพรองลงมา มีส่วนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเช่นกัน ทั้งนี้เราควรกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช ในปริมาณ 6-12 ช้อนกินข้าวต่อวัน ควบคู่ไปกับการดื่มนม 1-2 แก้วต่อวันเป็นประจำ

        อย่างที่บอกว่าอาหารหมู่ที่ 1 เป็นแหล่งของสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย ที่จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตเต็มวัยและมีพัฒนาการที่ดี โดยเฉพาะในเด็กเล็ก การขาดสารอาหารประเภทโปรตีนอาจก่อให้เกิดโรคแคระแกร็น ส่วนในผู้ใหญ่ที่อดอาหาร การขาดโปรตีนก็อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ดูอ่อนแอและอ่อนแรง ซึ่งหากขาดโปรตีนหนัก ๆ กล้ามเนื้ออาจจะลีบ เส้นผมก็อาจจะแห้งกระด้าง ไม่เงางามด้วยก็ได้

อาหารหลัก 5 หมู่
อาหารหมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต

          อาหารหมู่ที่ 2 ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมจีน ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ฟักทอง ข้าวโพด ธัญพืช และแป้งชนิดอื่น ๆ โดยอาหารดังกล่าวมีสารอาหารหลักคือคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานสำคัญชนิดหนึ่งของร่างกายที่เราควรได้รับประมาณ 8-12 ทัพพี (1 ทัพพีเท่ากับ 5 ช้อนกินข้าว) หรือคิดเป็นสัดส่วนได้ร้อยละ 60-65 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมด แต่ถ้าใครเป็นคนชอบออกกำลังกาย มีกิจกรรมในแต่ละวันมากมาย ก็ควรทานคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้น เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้นนั่นเอง

          ทั้งนี้เราอาจปรับเปลี่ยนประเภทของแป้งได้ในแต่ละวัน โดยสามารถเทียบพลังงานได้ ดังนี้

          ข้าวสุก 1 ทัพพี = ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี = ขนมจีน 1 จับ = ขนมปัง 1 แผ่น = บะหมี่ 1 ก้อน

          คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารให้พลังงานที่สำคัญกับร่างกายของเรา ให้ความอบอุ่น และช่วยทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวเพื่อทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ซึ่งถ้าหากร่างกายขาดสารอาหารประเภทนี้ ร่างกายก็จะเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เพราะสมองและกล้ามเนื้อต้องการกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตมาช่วยในการทำงาน หากขาดคาร์โบไฮเดรตไปก็จะทำให้ขาดพลังงานไปด้วย อีกทั้งยังอาจจะรู้สึกหงุดหงิด สมองไม่สดใสเพราะขาดกลูโคสมากระตุ้นการทำงาน ทำให้อารมณ์แปปรวนง่ายเพราะสารเคมีในร่างกายขาดความสมดุล



อาหารหลัก 5 หมู่
อาหารหมู่ที่ 3 แร่ธาตุ ใยอาหาร
          อาหารหมู่ที่ 3 เป็นผักใบเขียวและพืชผักชนิดต่าง ๆ ซึ่งแหล่งของสารอาหารประเภทแร่ธาตุ ใยอาหาร และกลุ่มสารพฤกษเคมีที่ผลิตโดยพืช เช่น เบต้าแคโรทีน ที่พบในผักสีเหลือง-ส้ม อย่างแครอท  ดอกโสน พริกเหลือง เป็นต้น อีกทั้งยังพบสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าไลโคปีน ได้จากผักที่มีสีแดงอย่างมะเขือเทศด้วย ซึ่งสารพฤกษเคมีเหล่านี้มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของความเสื่อมสภาพในร่างกาย

          นอกจากนี้ผักยังเป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มปริมาณและน้ำหนักอุจจาระ ส่งเสริมกระบวนการขับถ่ายให้ถ่ายคล่อง และช่วยดักจับสารเคมีที่เป็นพิษ รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
          อย่างไรก็ตาม เราควรรับประทานอาหารหลักหมู่ที่ 3 ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยกินผัก 4-6 ทัพพีต่อวัน ทั้งนี้เราสามารถปรับเปลี่ยนประเภทของผักตามสัดส่วนด้านล่าง

          ฟักทองสุก 1 ทัพพี = ผักคะน้าสุก 1 ทัพพี = ผักบุ้งจีนสุก 1 ทัพพี = แตงกวา 2 ผล

          ทั้งนี้หากร่างกายไม่ค่อยได้กินผัก ไม่ได้รับสารอาหารประเภทเกลือแร่อย่างเหมาะสมตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ อาจส่งผลกระทบให้เกิดอาการท้องผูก ป่วยง่าย ร่างกายอ่อนเพลียเนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
อาหารหลัก 5 หมู่
อาหารหมู่ที่ 4 วิตามิน

          อาหารหมู่ที่ 4 คือผลไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งนอกจากผลไม้จะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุแล้ว ผลไม้ยังมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลอยู่มากกว่าผัก จึงให้พลังงานกับร่างกายได้พอประมาณ อีกทั้งในผลไม้ทุกชนิดยังมีเส้นใยอาหารค่อนข้างสูงด้วยนะคะ ช่วยแก้ท้องผูกและช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายได้ดีเลยเชียวล่ะ เราจึงควรกินผลไม้ 3-5 ส่วนต่อวัน (ผลไม้ 1 ส่วนเท่ากับส้มเขียวหวาน 2 ผลกลาง ชมพู่ 2 ผลใหญ่ หรือฝรั่งครึ่งผลกลาง เป็นต้น) หรือสามารถเทียบปริมาณได้ตามนี้

          ผลไม้ 1 ส่วน = เงาะ 4 ผล = ฝรั่งครึ่งผลกลาง = มะม่วงดิบครึ่งผล = กล้วยน้ำว้า 1 ผล = ส้มเขียวหวาน 1 ผลใหญ่ = มะละกอ หรือสับปะรด หรือแตงโม 6-8 ชิ้นพอคำ = ลองกอง หรือลำไย หรือองุ่น 6-8 ผล

          ซึ่งเราควรกินผลไม้และสารอาหารประเภทวิตามินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรืออย่างน้อย ๆ ควรต้องได้รับวิตามินเป็นประจำทุกวัน เพราะหากร่างกายขาดวิตามินชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะวิตามินซี และวิตามินบี อาจก่อให้เกิดอาการเหน็บชา โรคปากนกกระจอก และทำให้ป่วยได้ง่าย นอกจากนี้การขาดวิตามินซียังเป็นสาเหตุของโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน

      

อาหารหลัก 5 หมู่

อาหารหมู่ที่ 5 น้ำมัน ไขมันจากพืชและไขมันจากสัตว์


          อาหารหมู่ที่ 5 ได้แก่ ไขมันจากปลา เช่น ปลาทู ปลาช่อน ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันตับปลา หรือไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจากธัญพืช น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด หรือน้ำมันมะพร้าว ซึ่งไขมันเหล่านี้จัดเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย มีคุณประโยชน์ในด้านให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ทั้งนี้ก็ควรรับประทานไขมันอย่างพอเหมาะ โดยควรรับประทานน้ำมันไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน (น้อยกว่า 600 กิโลแคลอรีต่อวัน) และควรเลือกกินไขมันชนิดดีอย่างไขมันจากเนื้อปลา ไขมันจากธัญพืช หรือไขมันจากดอกไม้ เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
    
   ทั้งนี้ ตามหลักธงโภชนาการ ในแต่ละวัน เราควรทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้มากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มผัก-ผลไม้  ตามด้วยกลุ่มโปรตีนและนม ส่วนไขมัน น้ำตาล และเกลือควรบริโภคแต่น้อยนะคะ 

อาหารหลัก 5 หมู่
ภาพจาก กรมอนามัย

อ้างอิง  ในส่วนของอาหารหลัก5หมู่  

กระบวนการได้มาซึ่งหน่วยการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 

     ศึกษาประสบการณ์สำคัญ กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  ออกแบบกิจกรรมเพื่อจัดประสบการณ์

นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  คือ   ดร. เดวิด ไวดาร์ท 

การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของ ไฮสโคป (High Scope) 

ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง

แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) เป็นอย่างไร

ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope)

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ในเมื่อหลักการของแนวนี้คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็จำเป็นต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการลื่นไหลของกิจกรรม และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น
1. พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
2. วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
3. การจัดเก็บ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ

ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก

1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
2. การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
3. เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย  ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ
ทักษะสมอง EF คืออะไร
ทักษะสมอง EF (Executive Functions) คือ ชุดกระบวนการคิด ที่ทำงานในสมองส่วนหน้าของเรา ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ทำให้รู้สึกยั้งคิดยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของเราได้ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผนบริหารจัดการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงนักวิทยาศาสตร์พบว่า ทักษะ EF ทำให้เราสามารถกำกับควบคุมตัวเองได้ (Self-Regulation) สามารถคิดในระดับสูง (High-Level Cognitive Functions) ได้ดีกว่าสัตว์ นั่นคือ มนุษย์สามารถใช้เหตุและผลได้ ควบคุมสัญชาตญาณและความรู้สึกให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้ สามารถวางแผนและดำเนินการสิ่งยากๆ ได้ พูดได้ว่าทักษะสมอง EF คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์เราเป็น “มนุษย์” แตกต่างไปจากสัตว์นั่นเอง
ทักษะสมอง EF ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่ ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition) ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) ทักษะจดจ่อใจใส่ (Focus/Attention) ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring) ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing) ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing) ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
รูปภาพประกอบ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์มาตามนัดตรงเวลา และอธิบายงานเข้าใจ ละเอียด ประเมินตนเอง มาตรงเวลาและพร้อมกับงานที่ได้รับมอบหมายงาน ประเมินเพื่อนร่วมห้อง เพื่อนมาสายเป็นส่วนน้อย บรรยากาศในสถานที่ จัดในสถานที่ที่เหมาะสมและมีพื้นที่เพียงพอ